ความหวานของอ้อย

อ้อย-หวาน-ไม่หวาน
          สวัสดีปีใหม่ท่านผู้อ่านทุกท่าน  ปีใหม่ปีนี้สำหรับผู้เขียน  นับว่าเป็นช่วงเวลาของการสงบนิ่ง  เพื่อฝึกตนให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาททั้งหลาย
ทั้งปวง สงบนิ่งจนกระทั่งต้องส่งต้นฉบับช้าเกินกว่ากำหนดไปหลายวัน  เป็นการวางแผนการทำงานที่ท่านผู้อ่านไม่ควรเอาเป็นแบบอย่างอย่างยิ่งช่วง
สัปดาห์แรกของปี  ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางผ่านจังหวัดอุดรธานี สกลนคร    และเข้าสู่จังหวัดนครพนม ระหว่างทางสังเกตเห็นรถบรรทุกอ้อยเข้าสู่
โรงงานเป็นจำนวนมาก บรรทุกกันแบบไม่เกรงใจเพื่อนร่วมทาง    ซึ่งต้องคอยช่วยลุ้นว่าอ้อยที่บรรทุกไว้จะร่วงลงมาหรือไม่ เวลาเข้าโค้งจะพลิกหรือ
ไม่พลิก เรียกว่าลุ้นกันได้กันไปตลอดทาง  ก่อนที่จะเห็นประชากรรถบรรทุกอ้อยจอดเรียงรายหน้าโรงงานนับสิบนับร้อยคัน  ส่วนใหญ่อ้อยที่ผู้เขียน
เห็นเป็นอ้อยที่ผ่านการเผาแล้วทั้งสิ้น   คำแนะนำการตัดอ้อยโดยไม่เผาเห็นทีจะต้องกลับไปพิจารณากันให้ลึกซึ้งเหตุการณ์ดังกล่าว    ทำให้ผู้เขียน
สนใจว่าอ้อยที่ว่าหวาน ณ พ.ศ.ใหม่ หวาน หรือ ไม่หวาน     ขออนุญาตนำผู้อ่านเข้าสู่เรื่องที่ว่าหวานๆ ใน “ฉีกซอง” ฉบับต้อนรับปีเถาะ พ.ศ. 2554
โปรดติดตาม
โลกของอ้อย
          ในอดีตหากกล่าวถึงอ้อยจะต้องคิดถึงน้ำตาลในทันใด     แต่ยุคปัจจุบันอาจต้องคิดถึงเอทานอลพ่วงเข้าไปด้วย อย่างไรก็ตาม น้ำตาลยังคง
เป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของอ้อย       จากรายงานของสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป       ได้สรุปรายงานของบริษัท
Czarnikow   ผู้ค้าน้ำตาลรายเก่าแก่ที่สุดของ UK    เรื่อง “Sugar in 2030 : How the World will meet an Extra 50% Demand”     โดยทำการ
วิเคราะห์แนวโน้มการผลิตและการบริโภคน้ำตาลในอีก 20 ปีข้างหน้า     โดยความต้องการบริโภคน้ำตาลทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 168 ล้านตัน
ในปี 2010 เป็น 260 ล้านตัน ภายในปี 2030 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 50%  ภายใน 20 ปีข้างหน้า     ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตของประเทศเศรษฐกิจใหม่
(emerging market) ที่ทำให้ความต้องการบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้น
          รายงานฉบับดังกล่าว คาดว่าการบริโภคน้ำตาลในอนาคต  เอเชียจะยังคงครองตำแหน่งภูมิภาคที่มีการบริโภคน้ำตาลมากที่สุด   โดยสัดส่วน
การบริโภคอาจเพิ่มขึ้นจาก 40% ในปัจจุบัน เป็น 49% ภายในปี 2030   โดยอินเดียจะบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า   ภายช่วงเวลา 20 ปีข้างหน้า
ส่วนจีนมีแนวโน้มบริโภคน้ำตาลสูงกว่ายุโรปภายในปี 2014  คาดการณ์ว่าภายในปี 2030     การบริโภคน้ำตาลของอินเดียและจีน    คิดเป็นสัดส่วน
ประมาณ 17.6 %  และ 14.7% ตามลำดับ  เมื่อเทียบกับการบริโภคน้ำตาลทั่วโลก          ในขณะที่ยุโรปการบริโภคน้ำตาลจะอยู่ในระดับคงที่  แต่
แอฟริกาจะบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นจาก 10%  เป็น 13% ภายในปี 2030 (โดยเฉพาะในบางประเทศ เช่น อูกันดา กินี บูร์กินาฟาโซ) ซึ่งเป็นผลมาจาก
การเติบโตอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรและ GDP
          ทางด้านการผลิต  รายงานฉบับดังกล่าว  ยืนยันว่า บราซิลจะยังคงเป็นประเทศที่มีการผลิตและส่งออกน้ำตาลมากที่สุดในโลก  โดยผลผลิต
ของบราซิล เพิ่มขึ้นถึง 35%  ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา        และมีการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนราว 60% ของปริมาณน้ำตาลที่ส่งออกทั้งหมดทั่วโลก ใน
อนาคตบราซิลน่าจะยังมีอิทธิพลต่อตลาดน้ำตาลโลกสูงสุดต่อไป บริษัท Czarnikow ระบุว่า        การผลิตน้ำตาลของโลกจำเป็นต้องเพิ่มขึ้นอีก 90
ล้านเมตริกตัน (raw value) ภายใน 20 ปีข้างหน้า       เพื่อรองรับกับความต้องการบริโภคน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น    คาดว่าด้วยกำลังความสามารถในการ
ขยายการผลิตและทรัพยากรที่มีอยู่ของบราซิล   น่าจะทำให้ผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นได้อีก 45 ล้านตันในอนาคต     ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งขึ้นอยู่กับ
การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการเปลี่ยนแปลงการจัดการภายในของประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำตาล เช่น ประเทศไทย เป็นต้น
          องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ  หรือ FAO     ได้คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรโลกอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 9.1 พันล้านคน
ภายในปี 2050   ซึ่งจะทำให้การผลิตอาหารของโลกจะต้องเพิ่มขึ้นอีก 70%  ภายใน 30 ปีข้างหน้า ความต้องการบริโภคส่วนใหญ่จะมาจากประเทศ
เศรษฐกิจใหม่เป็นหลัก แต่สำหรับภูมิภาคที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป  ความต้องการบริโภคอาหารอาจคงที่หรือมีแนวโน้มลดลง ดังนั้น
ในอนาคตประเทศต่างๆ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย ยุโรปและแอฟริกา อาจมุ่งเน้นความสนใจไปที่การเพิ่มผลผลิตอาหารเป็นหลัก เพื่อให้ประเทศเกิดความ
มั่นคงด้านอาหาร (food security) และลดความผันผวนในตลาด ส่วนการผลิตน้ำตาลที่จะต้องเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น
แต่ในทางตรงข้าม         การผลิตน้ำตาลอาจเผชิญปัญหาจากการแก่งแย่งใช้ที่ดินกับพืชอาหารอื่นๆ เช่น ข้าว ข้าวโพด         ซึ่งถือเป็นอาหารหลัก
(staple food)  ที่มีความสำคัญมากกว่า      และอาจเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ราคาน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้น      คงเหลือแต่ประเทศบราซิลเท่านั้นที่มีที่ดินและ
ทรัพยากรเพียงพอสำหรับขยายการเพาะปลูก     ในอนาคตผู้นำเข้าและผู้บริโภคจึงน่าจะขึ้นอยู่กับอุปทานน้ำตาลที่มาจากบราซิลมากยิ่งขึ้นอย่างไร
ก็ตาม   บราซิลจำเป็นต้องลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานควบคู่ไปกับการขยายการผลิตน้ำตาล    เนื่องจากในปัจจุบันบราซิลมีทางรถไฟเพียง 10%
เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าประเทศจะมีขนาดใกล้เคียงกันก็ตาม ดังนั้นปัญหาด้านการขนส่งอาจเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของ
บราซิลได้ ส่วนสหภาพยุโรปและรัสเซียควรหาทางกลับมาเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลให้ได้อีกครั้ง
          ปัจจุบัน น้ำตาลที่ผลิตจากอ้อยคิดเป็นสัดส่วนราว 3 ใน 4 ของผลผลิตน้ำตาลทั่วโลก     ส่วนใหญ่ผลิตมาจากประเทศในเขตร้อนหรือกึ่งร้อน
เช่น บราซิล อินเดีย จีนและไทย     ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 4 เป็นน้ำตาลที่ผลิตจากต้นบีท (sugar beet)       โดยผลิตกันมากในประเทศที่มีอุณหภูมิ
ปานกลาง เช่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา การผลิตน้ำตาลจากอ้อยมีความได้เปรียบเหนือกว่าน้ำตาลจากต้นบีท  เนื่องจากมีฤดูเพาะปลูกที่ยาวนานกว่า
และต้นทุนการผลิตต่ำกว่า   แต่โอกาสในการขยายตัวของการเพาะปลูกอ้อยต่ำกว่าต้นบีทเนื่องจากข้อจำกัดทางด้านภูมิประเทศ  ปริมาณน้ำฝนและ
สภาพภูมิอากาศ  ในอนาคตภาคการผลิตน้ำตาลบีทอาจมีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้น      เนื่องจากบริษัทเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่หลายแห่ง  เช่น KWS, SES
Vander Have และ Syngenta เป็นต้น   กำลังพัฒนาการเพาะปลูกต้นบีทที่มีความเหมาะสมกับสภาวะในเขตร้อน โดยทดลองปลูกในประเทศอินเดีย
ปากีสถานและแอฟริกาใต้ อีกทั้งการเพาะปลูกต้นบีทยังใช้น้ำน้อยกว่าอ้อยถึง 2 ใน 3  สามารถเติบโตได้ในดินที่มีความเค็ม และเก็บเกี่ยวได้ภายใน
ระยะเวลา 6 เดือน จึงมีความเป็นไปได้ที่การผลิตน้ำตาลบีทจะขยายเพิ่มขึ้นในอนาคต     ดังนั้น หากภาคการผลิตน้ำตาลบีทเติบโตมากขึ้น ควบคู่ไป
กับการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาลจากอ้อย      และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลแล้ว  เช่น ด้าน
กฎระเบียบ ราคาน้ำตาลและค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น  ความเป็นไปได้ที่ผลผลิตน้ำตาลของโลกจะเพิ่มขึ้นได้ทันกับความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นจึงจะ
มีโอกาสเกิดได้
อ้อยในไทย
          หากมีใครสักคนถามท่านผู้อ่านว่าอ้อยในเมืองไทยหน่วยงานใดรับผิดชอบ  คาดว่าคำตอบที่ได้รับในใจหลายๆ ท่านคือ กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์   แต่ในความเป็นจริงแล้วอ้อยในเมืองไทยไม่เหมือนใครในโลก    และคงไม่มีใครเหมือน สิ่งที่ผู้เขียนนึกถึงเวลาที่มีเหตุการณ์เกี่ยวกับอ้อย
คือ คำสอนของอาจารย์สมัยเป็นนักเรียนเกษตรในวิชาพืชไร่อุตสาหกรรม   สำหรับคำจำกัดความของอ้อยในเมืองไทย คือ พืชการเมือง ดังนั้นจึง
ไม่ต้องแปลกใจที่อ้อยไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   แต่กลับอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม โดย
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย  ภายใต้พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ควบคุมการผลิตและการจำหน่าย
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
          พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527  เกิดขึ้มาจากความจำเป็นที่ต้องรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ  และคุ้มครอง
รักษาผลประโยชน์ของชาวไร่อ้อยในด้านการผลิตและการจำหน่าย      จึงควรจัดระบบและควบคุมการผลิตและจำหน่ายอ้อยและน้ำตาลทรายที่ผลิต
จากอ้อย โดยให้ชาวไร่อ้อยและเจ้าของโรงงานน้ำตาล ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงเข้าร่วมมือกับทางราชการ ตั้งแต่การผลิตอ้อยไปจนถึงการ
จัดสรรเงินรายได้จากการขายน้ำตาลทรายทั้งในและนอกราชอาณาจักรระหว่างชาวไร่อ้อย และเจ้าของโรงงานน้ำตาลทรายเพื่อให้อุตสาหกรรมอ้อย
และน้ำตาลทรายเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและเกิดความเป็นธรรมแก่ชาวไร่อ้อย เจ้าของโรงงานน้ำตาลและผู้บริโภค
          การบริหารระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ป ระกอบด้วยคณะกรรมการทั้งหมด 5 คณะ  กล่าวคือ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล
ทราย (กอน.)
  ทำหน้าที่กำหนดนโยบายเพื่อบริหารจัดการระบบอุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาลทราย  กำหนดระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธี
การปฏิบัติและมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการคณะอื่นๆ   ตามที่กฎหมายกำหนด   ซึ่ง กนอ. ได้แก่ ผู้แทนฝ่ายราชการ 5 คน ผู้แทนชาวไร่อ้อย 9 คน
และผู้แทนฝ่ายโรงงาน 7 คน

          ลำดับต่อมา  คือ คณะกรรมการบริหาร (กบ.)   ประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการ 3 คน   ผู้แทนชาวไร่อ้อย 4 คน ผู้แทนฝ่ายโรงงาน
4 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน ทำหน้าที่หลักในการให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อ กอน.และควบคุมการปฏิบัติงานของ กอน. ด้วย
          คณะกรรมการอ้อย(กอ.) ประกอบด้วย  ผู้แทนจากส่วนราชการ 4 คน  ผู้แทนชาวไร่อ้อย 6 คน และผู้แทนฝ่ายโรงงาน 4 คน ทำหน้าที่ให้
คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อ กอน.และ กบ. ในกิจการที่เกี่ยวกับอ้อย
          คณะกรรมการน้ำตาลทราย (กน.)  ประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการ 5 คน    ผู้แทนชาวไร่อ้อย 5 คน   และผู้แทนฝ่ายโรงงาน 5 คน
ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อ กอน.และ กบ.  ในกิจาการที่เกี่ยวกับน้ำตาลทรายคณะกรรมการชุดสุดท้าย คือ คณะกรรมการบริหาร
กองทุน (กท.)
ประกอบด้วย  ผู้แทนจากส่วนราชการ 6 คนผู้แทนชาวไร่อ้อย 3 คน  และผู้แทนฝ่ายโรงงาน 3 คน   ทำหน้าที่กำหนดระเบียบว่าด้วย
การเก็บรักษา การหาผลประโยชน์และการใช้จ่ายเงินกองทุนและบริหารควบคุมการปฏิบัติงานกองทุนให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดทั้งนี้สำนักงาน
คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว รวมทั้งมีภารกิจเกี่ยวกับการกำหนด
นโยบาย กำกับดูแล ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้เติบโตอย่างยั่งยืน มีเสถียรภาพ    โดยการกำหนดนโยบายส่งสริมการ
วิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย     ตลอดจนสร้างความเป็นธรรมและรักษาผลประโยชน์ในระบบอุตสาหกรรม
อ้อยและน้ำตาลทรายและผู้บริโภค
อ้อยอุตสาหกรรม
          อุตสาหกรรมอ้อย  และน้ำตาลทรายเกี่ยวข้องกับชีวิตของเกษตรกรกว่า 600,000 คน      และเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับ
ประเทศปีละกว่า 80,000 ล้านบาท     โดยมีสัดส่วนในการส่งออกมากกว่าการบริโภคในประเทศราว 2 ใน 3  ของผลผลิตน้ำตาลที่ผลิตได้เนื่องจาก
อ้อยเป็นพืชอุตสาหกรรมตามที่กล่าวมาข้างต้น    คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ประกาศกำหนดพันธุอ้อยที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมให้ชาวไร่
อ้อยปลูกในท้องที่ที่คณะกรรมการกำหนด   จำนวน 35 พันธุ์     ซึ่งมีความเหมาะสมแตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูกของแต่ละภาค  โดยมีศูนย์ส่งเสริม
อุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาลทรายประจำภาคต่างๆ ได้แก่ ภาค 1 กาญจนบุรี  ภาค 2 กำแพงเพชร  ภาค 3 ชลบุรี และภาค 4 อุดรธานี  ทำหน้าที่ใน
การส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
          ในภาพรวมแล้ว  อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย   มีสถาบันชาวไร่อ้อยอยู่เป็นจำนวนมาก    แต่มีเพียง 29 สถาบันที่มีคุณลักษณะตามที่
กฎหมายกำหนด  คือ มีสมาชิกไม่น้อยกว่า 600 คน และมีปริมาณอ้อยส่งโรงงานไม่น้อยกว่า 55%      ซึ่งทั้ง 29 สถาบันได้รวมตัวกันเป็น 3 องค์กร
ชาวไร่อ้อย ได้แก่ สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย  สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และชมรมชาวไร่อ้อยภาคอีสาน ในส่วนของโรงงาน
น้ำตาลมีทั้งสิ้น 47 โรงงาน  ก่อตั้งเป็น 3 สมาคมเช่นกัน     ได้แก่ สมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาล   สมาคมการค้าผู้ผลิตน้ำตาลไทย และสมาคม
โรงงานน้ำตาลไทย
          สำหรับระบบการจำหน่ายน้ำตาลทรายของประเทศไทย  กำหนดจัดสรรโควต้าน้ำตาลทรายของประเทศออกเป็น 3 ส่วน  ประกอบด้วย
         
           น้ำตาล โควต้า ก
   คือ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และน้ำตาลชนิดอื่นๆ   ที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตายทรายกำหนดให้
ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ ซึ่งจะกำหนดเป็นแต่ละฤดูการผลิต

          น้ำตาล โควต้า ข
คือน้ำตาลทรายดิบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดให้ผลิตเพื่อส่งมอบให้บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด
ส่งออกและจำหน่ายไปยังต่างประเทศ จำนวน 8 แสนตัน เพื่อใช้ทำราคาในการคำนวณราคาน้ำตาลส่งออก

           น้ำตาล โควต้า ค
คือ น้ำตาลทรายดิบ  หรือ น้ำตาลทรายขาว  หรือ น้ำตาลทรายบริสุทธิ์ที่คณะกรรมการอ้อย และน้ำตาลทรายกำหนดให้
โรงงานผลิตเพื่อการส่งออกหลังจากที่โรงงานผลิตน้ำตาลทรายได้ครบตามปริมาณที่จัดสรรให้ตามโควต้า ก และ โควต้า ข แล้ว
          ส่วนระบบการซื้อขายอ้อยในปัจจุบันจะซื้อขายกันตามค่าความหวาน ระบบดังกล่าวเริ่มใช้มาตั้งแต่ปีการผลิต 2535/36 เป็นระบบที่นำมาจาก
ออสเตรเลีย ค่าคุณภาพความหวานวัดเป็น C.C.S   หรือ Commercial Cane Sugar หมายถึง ปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในอ้อย ซึ่งสามารถหีบสกัดออก
มาเป็นน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์    โดยในระหว่างผ่านกรรมวิธีการผลิต     ถ้ามีสิ่งไม่บริสุทธิ์ที่ละลายอยู่ในน้ำอ้อย 1 ส่วน จะทำให้สูญเสียน้ำตาลไป
50%  ของจำนวนสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ อ้อย 10 C.C.S.    จึงหมายถึง เมื่อนำอ้อยมาผ่านกระบวนการผลิต  จะได้น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 10%  กล่าวคือ
อ้อย1 ตัน หรือ 1,000 กิโลกรัม จะได้น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 100 กิโลกรัม โดยมีสูตรการคำนวณราคาอ้อยดังนี้
          ราคาอ้อย = รายได้ส่วนที่ 1 + (รายได้ส่วนที่ 2  x ค่า C.C.S)+ รายได้จากกากน้ำตาล    โดย รายได้ส่วนที่ 1 = รายรับจากการขายน้ำตาล
ที่คิดตามน้ำหนัก
          รายได้ส่วนที่ 2 = รายรับจากการขายน้ำตาลที่คิดตามค่าความหวาน
          สำหรับระบบการจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศ หรือน้ำตาลโควต้า ก คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มอบหมายให้คณะกรรมการ
น้ำตาลทราย เป็นผู้วางแผนควบคุม และกำหนดวิธีการจำหน่าย  โดยมีศูนย์บริหารการผลิต การจำหน่าย และการขนย้ายน้ำตาลทราย เป็นฝ่ายปฏิบัติ
การ  โดยจำหน่ายเป็นลักษณะตลาดกลาง  ซึ่งโรงงานน้ำตาลดำเนินการขายอย่างเสรี  คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจะควบคุมปริมาณน้ำตาล
ทรายที่จะเข้าสู่ตลาดกลาง และรักษาเสถียรภาพของราคาไว้ โดยคณะกรรมการจะกำหนดงวดการนำน้ำตาลทรายออกมาจำหน่ายตามความต้องการ
ของตลาดปริมาณน้ำตาลทราย โควต้า ก  ในปีการผลิต 2552/53  กอน.  กำหนดไว้ที่ 22 ล้านตัน     โดยแบ่งเป็นงวดจำหน่าย จำนวน 52 งวด ตาม
จำนวนสัปดาห์ในรอบปี    เพื่อให้โรงงานน้ำตาลนำน้ำตาลออกจำหน่ายสัปดาห์ละ 1 งวด ให้แก่ผู้ค้าส่งหรืออุตสาหกรรมต่างๆ   ที่ใช้น้ำตาลทรายเป็น
วัตถุดิบ โดยศูนย์บริหารฯ  เป็นหน่วยงานควบคุมด้วยระบบใบอนุญาตขนย้ายน้ำตาลของโรงงานน้ำตาลต่างๆ  ให้กับผู้ซื้อภายหลังจากชำระค่าน้ำตาล
ให้กับผู้แทนโรงงานแล้วและผู้ซื้อน้ำตาลจะนำใบอนุญาตดังกล่าวของโรงงานไปรับน้ำตาลเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น