การปลูกอ้อยข้ามแล้ง
เทคนิคการปลูกอ้อยข้ามแล้งการปลูกอ้อยข้ามแล้งเป็นการเพิ่มผลผลิตอ้อยโดยไม่ต้องอาศัยน้ำชลประทานแต่อาศัยความชื้นในดินช่วยให้อ้อยเจริญเติบโตจนถึงต้นฤดูฝน และทำการเก็บเกี่ยวเมื่อถึงช่วงเปิดหีบของโรงงาน ระหว่างเดือนธันวาคม – มีนาคม ซึ่งอ้อยจะโตเต็มที่และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับขั้นตอนการปลูกอ้อยข้ามแล้ง
- ได้ผลผลิตต่อไรสูงขึ้นกว่าการปลูกอ้อยในฤดูฝน
- อ้อยที่นำเข้าหีบมีคุณภาพความหวานสูง
- เพิ่มผลผลิตในกลุ่มอ้อยพันธุ์เบาให้สูงขึ้น
- ลดต้นทุนการผลิตอ้อย เช่น การกำจัดวัชพืชน้อยลง
- ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูง
การคัดเลือกพื้นที่ปลูก
- พื้นที่ที่จะใช้ปลูกอ้อยข้ามแล้งต้องมีหน้าดินลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร เป็นดินร่วนปนทราย
- ดินมีการระบายน้ำดี
- เป็นพื้นที่ราบ ลาดชันไม่เกิน 2 องศา
- ไม่มีชั้นดินดานหนามาก
- ไม่ควรปลูกอ้อยข้ามแล้งในดินเหนียวจัด
- มีปริมาณน้ำฝนพอเพียง
- ทางคมนาคมสะดวก
การวางแผนการใช้พื้นที่
- เก็บพื้นที่ไว้เพื่อพักดิน เป็นการตัดวงจรของโรคและแมลงและทำการปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด ถั่ว เป็นต้น
- พื้นที่ที่ไม่สามารถพักดินได้ จำเป็นต้องปลูกอ้อยอย่างต่อเนื่อง มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
- พรวนดินด้วยคราดสปริง หรือระเบิดดินดานในอ้อยตอเพื่อเป็นการเก็บรับน้ำฝนในช่วงฤดูฝน
- มีการวางแผนตัดอ้อยต้นฤดูหรือในช่วงที่โรงงานน้ำตาล เปิดหีบ
- การเตรียมดินปลูกอ้อยข้ามแล้งต้องเตรียมอย่างต่อเนื่อง
- ควรปลูกด้วยเครื่องปลูก
การเตรียมดิน
- การเปิดหน้าดินรับน้ำฝนในเดือนกรกฎาคม เพื่อรองรับน้ำฝนที่จะตกในเดือนสิงหาคมและกันยายน จะเก็บน้ำฝนได้มาก ดินจะมีความชื้นพอหล่อเลี้ยงต้นอ้อย เป็นการกำจัดวัชพืชและแมลงใต้ดินได้
- การเตรียมดินพร้อมปลูก ชาวไร่อ้อยที่ปลูกอ้อยข้ามแล้งจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นกับการเตรียมดินต้องไม่ให้สูญเสียความชื้นไปมาก เตรียมดินโดยการไถด้วยผาล 3 หรือผาล 4 และต้องมีการพรวนดินด้วยผาล 7 หรือผาล 20 จาน
การเตรียมท่อนพันธุ์
- อายุของพันธุ์อ้อยที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 8-10 เดือน ท่อนพันธุ์จะเริ่มงอกรากออกมาก่อนและงอกตาตามทีหลังระบบรากที่แข็งแรง จะผ่านฤดูแล้งได้ดี และมีหนอนกอเข้าทำลายน้อย
- เมื่อตัดท่อนพันธุ์แล้ว ต้องปลูกให้เสร็จภายใน 3-5 วัน ถ้าทิ้งไว้จะทำให้จุดเจริญของรากและตาเสียไป
การปลูกอ้อยข้ามแล้ง
- ระยะเวลาปลูก แบ่งตามความสูงของพื้นที่ได้ 2 กลุ่มดังนี้
- พื้นที่ดอน ระยะเวลาปลูกควรอยู่ระหว่างปลายตุลาคม – กลางธันวาคม ของทุกปี
- พื้นที่ลุ่ม ควรปลูกให้เสร็จระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ฝนหยุดตก
- วิธีการปลูก แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
- ปลูกด้วยเครื่องปลูก จะทำให้ความชื้นในดินสูญเสียน้อยและลดค่าแรงในการปลูก ชาวไร่ต้องมีความรู้เรื่องการใช้เครื่องจักรพอสมควร
- ปลูกด้วยแรงงานคนและใช้รถไถเดินตามกลบท่อนพันธุ์ชาวไร่อ้อยต้องเตรียมความพร้อม โดยการยกร่องปลูก วางท่อนพันธุ์ โรยปุ๋ยและกลบท่อนพันธุ์ ทำแต่ละขั้นตอนด้วยความรวดเร็ว ถ้าหากช้าจะทำให้ความชื้นรอบท่อนพันธุ์ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ปุ่มรากจากท่อนพันธุ์งอกเฉพาะบริเวณที่ดินมีความชื้นเท่านั้น การปลูกอ้อยข้ามแล้งต้องให้ท่อนพันธุ์อยู่ในดินที่มีความชื้นรอบท่อนพันธุ์ และจะทำให้รากชั่วคราวจากพันธุ์งอกได้รวดเร็วสร้างรากถาวรจากหน่อได้ดี
ความหนาของการกลบท่อนพันธุ์อ้อยในการปลูกอ้อยข้าวแล้ง
- ปลูกเดือนตุลาคม กลบดินหนาประมาณ 2 นิ้ว
- ปลูกเดือนพฤศจิกายน กลบดินหนาประมาณ 3 นิ้ว
- ปลูกเดือนธันวาคม กลบดินหน้าประมาณ 4 นิ้ว
ในเดือนตุลาคมดินยังมีความชื้นสูงอยู่ ต้องทำการพรวนดินในร่องอ้อยเพื่อให้ดินร่วนซุย ถ้าไม่พรวนเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ หน่ออ้อยไม่สามารถแทงพื้นดินได้การดูแลและบำรุงรักษา
- การดูแลแปลงอ้อยหลังปลูก (ช่วงผ่านแล้ง) การพรวนดินจะช่วยให้ความชื้นในดินไม่สูญเสียไป ช่วยลดอุณหภูมิที่ผิวดิน ทำให้อ้อยแล้งแตกกอมากขึ้นทำลายไข่แมลงศัตรูอ้อยตามผิวดิน ควรพรวนดิน เพื่อเพิ่มระดับความชื้นในดิน
- การดูแลแปลงอ้อยช่วงหลังฝน อ้อยข้ามแล้งส่วนใหญ่จะเริ่มคลุมร่องอ้อย การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ชาวไร่ควรพิจารณาการใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับวัชพืช โดยปฏิบัติควบคู่ไปกับการใส่ปุ๋ย
ดูรายละเอืยดต่อไป http://www.uttaradit.go.th/KM/sugar/11.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น