การปลูกอ้อย


 
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ  สามารถปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศ  มีอายุเก็บเกี่ยว  10-12 เดือน เก็บผลผลิตได้  2-3  ปี  สภาพแวดล้อมพันธุ์และการบำรุงดูแลรักษาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลิตและคุณภาพของอ้อยอ้อยสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกประเภท  ตั้งแต่ดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย พื้นที่ปลูกควรเป็นที่ราบ  ควรหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยในดินเหนียวจัด ดินทรายจัดและดินลูกรัง 
การเตรียมพันธุ์
            พันธุ์อ้อยควรมาจากแปลงอ้อยที่เจริญเติบโตดี  ตรงตามพันธุ์  ปราศจากโรคและแมลง  มีอายุประมาณ  8-10  เดือน  ถ้าต้องทิ้งพันธุ์อ้อยที่ตัดไว้แล้วในไร่  ควรคลุมท่อนพันธุ์ด้วยใบอ้อยแห้ง เพื่อป้องกันตาอ้อยแห้ง เกษตรกรควรมีแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่าย  อ้อยจากแปลงพันธุ์ 1 ไร่ (อายุ 7-8 เดือน)  ปลูกขยายได้ 10  ไร่     สำหรับแปลงพันธุ์  ควรแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อนนาน 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันโรคใบขาว  และกอตะไคร้  จากนั้นแช่ท่อนพันธุ์มนสารเคมีโพรนิโคนาโซล  อัตรา  66  ซีซี/น้ำ20  ลิตร  นาน  30  นาที  เพื่อป้องกันโรคแส้ดำ  เหี่ยวเน่าแดง 
และกลิ่นสัปปะรด                              
ฤดูกาลปลูก 
การปลูกอ้อยในปัจจุบัน  สามารถแบ่งตามฤดูกาลได้เป็น  2  ประเภท คือ
            การปลูกอ้อยต้นฝน  ซึ่งยังแบ่งออกเป็น  2  เขต  คือ
                 -  ในเขตชลประทาน  (20%  ของพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ)  ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วง      
                      เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
                  -  ในเขตอาศัยน้ำฝน  ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนเมษายน  -  มิถุนายน
            การปลูกอ้อยปลายฝน  (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง)  สามารถทำได้เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวัน     ออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก  ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดีและดินเป็นดินทรายเหนือดินร่วนปนทราย  การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลางเดือนตุลาคม-ถึงเดือนธันวาคม
 การเตรียมดิน
ไถเตรียมดินให้ลึกขณะมีความชื้นพอเหมาะ  และควรลงไถดินดานทุกครั้งที่มีการรื้อตอเพื่อปลุกอ้อยใหม่โดยไถเป็นรูปตาหมากรุก
                 -  ถ้าปลูกต้นฤดูฝนหรือปลูกอ้อยใช้น้ำชลประทาน  ไม่จำเป็นต้องไถพรวนให้ดินแตก
                 -  อ้อยปลายฝนหรือปลูกอ้อยข้ามแล้ง  ต้องไถพรวนจนหน้าดินแตกละเอียด  เพื่อช่วยลด      ความสูญเสียความชื้นภายในดินให้ช้าลง
วิธีการปลูก
                 -  ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องกว้าง  1.4-1.5 เมตร  (เดิมใช้  1.3  เมตร)  วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยว  เกยกันครึ่งลำหรือ2  ลำคู่ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้
                 -  ถ้าใช้เครื่องปลูก  หลังจากเตรียมดินแล้ว  ไม่ต้องยกร่องจะใช้เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์  โดยจะมีตัวเปิดร่อง  และช่องสำหรับใส่พันธุ์อ้อยเป็นลำ  และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่องและมีตัวกลบดินตามหลัง  และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น พร้อมปลูกได้เลย  ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่  โดยจะปลูกแถวเดี่ยวระยะแถว  1.4-1.5 เมตร  ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอมาก  และจะปลูกแถวคู่  ระยะแถว  1.4-1.5  เมตร  ระยะระหว่างคู่แถว  20-30  เซนติเมตร  ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย
 การใส่ปุ๋ย 
 โดยแบ่งใส่ปุ๋ยเป็น  2  ครั้ง จำนวน 50 กิโลกรัมต่อไร่ 
            ใส่ปุ๋ยครั้งแรกให้ใช้    ปุ๋ยสูตร 15-15-15, 
25-7-7 จำนวน 25 กิโลกรัมต่อไร่
            ใส่ปุ๋ยครั้งที่สองให้ใช้ ปุ๋ยสูตร 
20-8-20 จำนวน 25 กิโลกรัมต่อไร่
การป้องกันกำจัดวัชพืช
           - ใช้แรงงานคนดายหญ้าในช่วงตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ  4  เดือน
           -ใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่องหลังปลูก  เมื่อมีวัชพืชงอก
           - ใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อคุมฆ่า
ปัจจุบันเกษตรกรมีการเผาใบอ้อยกันมาก
           - การเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว  เนื่องจากขาดแคลนแรงงานทำให้ตัดอ้อยได้เร็วไม่ต้องลอกกาบใบ  อ้อยที่เผาใบถ้าไม่รีบตัดส่งโรงงานทันทีจะทำให้เสียน้ำตาลและคุณภาพความหวาน  และต้องจ่ายค่ากำจัดวัชพืช  และให้น้ำเพิ่มขึ้นในอ้อยตอแนวทางแก้ไข    คือ  ถ้าส่งโรงานไม่ทันต้องตัดอ้อยไฟไหม้กองไว้ในไร่  ซึ่งจะสูญเสียความหวานน้อยกว่าทิ้งไว้ในไร่
            - การเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว  เนื่องจากเกษตรกรต้องการป้องกันไฟไหม้อ้อยตอ  หลังจากที่มีหน่องอกแล้วและทำให้ใส่ปุ๋ยได้สะดวกกลบปุ๋ยง่าย  แต่มีผลเสียตามมา  คือ
                     *  เป็นการทำลายวัตถุอินทรีย์ในดิน          
                     *  ทำให้สูยเสียควสามชื้นในดินได้ง่าย
                     *  หน้าดินถูกกชะล้างได้ง่าย
                     *  มีวัชพืชในอ้อยตอขึ้นมาก
                     *  มีหนอกอเข้าทำลายมากขึ้น
แนวทางแก้ไข  คือ  ใช้เครื่องสับใบอ้อย  คลุกเคล้าลงดิน  ระหว่างแถวอ้อย  และถ้าต้องการเผาใบอ้อยจริงๆ  ควรให้น้ำในอ้อนตอทันที
จะช่วยลดการตายของอ้อยตอลงได้
              - การเผาใบก่อนการเตรียมดิน  เกษตรกรทำเพื่อให้สะดวกในการเตรียมดินปลูก  เพราะล้อรถแทรกเตอร์จะลื่นเวลาไถ
มีผลเสียตามมาคือ  เป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุ  ดินอัดแน่นทึบ  ไม่อุ้มน้ำ  น้ำซึมลงได้ยาก
แนวทางแก้ไข  คือการใช้จอบหมุนสับเศษอ้อย  และคลุกเคล้าลงดินก่อนการเตรียมดิน  ทำให้ไม่ต้องเผาใบอ้อยก่อนการเตรียม
 

สามรถดูรายละเอียดได้ที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น